กระบวนการเรียนรู้การทำโครงงาน แผนกอนุบาล

         แต่ละโครงงานนี้ประสงค์ให้ นร. ทำการสืบค้นหาข้อมูลต่างๆตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ โดยนักเรียนระดับชั้น KG.1- KG.3 ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการทำโครงงานของแต่ละห้อง ซึ่งเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันนำเสนอ ของนักเรียนในห้องทุกคน ที่มีความสงสัย อยากรู้ อยากศึกษาค้นคว้า ทดลอง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นักเรียนทุกคนในชั้นเรียนได้ช่วยกันคิด ตั้งคำถาม และพยายามหาจุดเด่นของโครงการ คือ พยายามที่จะค้นหาคำตอบจากคำถามของเด็กๆที่เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษา โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ 3 ระยะ กล่าวคือ
         ระยะที่ 1 เริ่มต้น – เด็กๆเลือกเรื่องที่จะศึกษา บอกข้อสงสัย ตั้งคำถาม และหาคำตอบ โดยมีครูประจำชั้นเป็นที่ปรึกษาและชี้แนะ
         ระยะที่ 2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ – ครูช่วยนักเรียนวางแผนสืบค้นหาข้อมูล เพื่อมาตอบข้อสงสัยของนักเรียน โดยการวาดภาพ Mind Map ใช้สื่อและอุปกรณ์ต่างๆ ในการทดลองเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลได้
         ระยะที่ 3 การสรุป – นักเรียนได้ข้อสรุปโดยผ่านกระบวนการสืบค้นข้อมูลและการทดลอง ว่ามีผลสรุปเป็นไปในทิศทางใด ตรงกับสิ่งที่เคยสมมติฐานไว้หรือไม่ ซึ่งนำเสนอโครงงานโดยนักเรียน และจัดแสดงให้ผู้ปกครองได้รับทราบ เพื่อแบ่งปันความรู้

         แต่ละห้องได้ทำโครงงานเรื่องต่างๆ เช่น ปลา ผีเสื้อ ไดโนเสาร์ ดอกบัว ดอกทานตะวัน ไข่ ต้นไม้ องุ่น เครื่องดนตรี เสื้อ นม ฯลฯ โดยนักเรียนจะมีคุณครูช่วยวางแผนข้อมูล ชี้แนะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความอยากรู้ของเด็กๆ ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เบื้องต้นของเรื่องที่กำลังศึกษา ว่ามีลักษณะอย่างไร ประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง เป็นต้น ทั้งยังส่งเสริมความสัมพันธ์ของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในการทำงานร่วมกัน สอดคล้องกับทฤษฎีพหุปัญญา (M.I.) ที่หลากหลาย เช่น ด้านมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และด้านธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์

.